คำสุภาพ ของ ราชาศัพท์ (ภาษาไทย)

คำสุภาพ คือคำราชาศัพท์สำหรับชั้นสุภาพชน เป็นการเปลี่ยนถ้อยคำต่างๆ ให้เหมาะสมสำหรับสื่อสารกับผู้ที่อาวุโสกว่า คำสุภาพมีลักษณะทั่วไปดังนี้

  1. ไม่เป็นคำอุทานที่ไม่สุภาพ เช่น โว้ย เว้ย หรือคำสบถ เช่น ให้ตายห่า ให้ฉิบหายวายวอด หรือการพูดกระชากเสียง เช่น เปล่า ไม่ใช่ เป็นต้น
  2. ไม่เป็นคำผวน คือเมื่อผวนหางเสียงกลับมาไว้ข้างหน้าแล้ว คำนั้นจะกลับเป็นไม่สุภาพทันที เช่น ผักบุ้ง ผวนเป็น พุ่งบัก เป็นต้น
  3. ไม่มีการใช้คำที่ถือว่าหยาบโลน เช่น ไอ้, อี, ขี้ ฯลฯ โดยจะเปลี่ยนคำศัพท์ไปเป็นคำอื่น เป็น สิ่ง, นาง, อุจจาระ ฯลฯ หรือไม่ก็ตัดออกไปเลย เช่น อีเลิ้ง เป็น นางเลิ้ง ดอกขี้เหล็ก เป็น ดอกเหล็ก เป็นต้น

ความหมายที่แท้จริงของ "คำหยาบ" หาใช่หมายถึงเฉพาะคำโลนหรือคำที่ใช้ในการกล่าวผรุสวาจาเท่านั้นไม่ ที่ถูกแล้วน่าจะเรียกว่า "คำสามัญ" มากกว่า เช่น คำว่า ตีน, กิน, เดิน, นอน ก็ไม่น่าจะเป็นคำหยาบอะไร แต่การนำคำเหล่านี้ไปใช้พูดกับผู้คนที่อาวุโสกว่า คำเหล่านั้นจะถือเป็น "คำหยาบ" ต้องเปลี่ยนใช้คำอื่น เช่น จะพูดว่า "ตีน" ก็ต้องเปลี่ยนเป็นคำว่า "เท้า" เป็นต้น [3][ระบุข้อมูลอ้างอิงไม่ครบ]